ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเพจเฟซบุ๊ก “ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” เผยแพร่ข่าว และภาพความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายต่างๆ โดยเฉพาะสายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 2.99 หมื่นล้านบาท มีประชาชนจำนวนมากแสดงความคิดเห็นเชิงตำหนิเกี่ยวกับหลังคาคลุมชานชาลา อาทิ ที่สถานีมวกเหล็ก ส่วนใหญ่ระบุว่าหลังคาไม่คลุมความยาวชานชาลาทั้งหมด เว้นเป็นช่วงๆ และหลังคาที่มีลักษณะแบบผีเสื้อ ใช้กันแดดพอได้ แต่กันฝนไม่ได้เลย ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แก้ไขแบบหลังคา และทางข้ามชานชาลา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ สุดท้ายจะไม่มีใครใช้บริการรถไฟ
ล่าสุด จากการสอบถามไปยังกระทรวงคมนาคมถึงประเด็นดังกล่าว ได้รับแจ้งว่า รฟท. รายงานเบื้องต้นว่า ปกติจะให้ผู้โดยสารรอรถไฟที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว (concourse) เมื่อเวลาใกล้ๆ รถไฟมาถึงสถานีจะให้ผู้โดยสารใช้ลิฟต์ หรือบันได ขึ้นมายังชั้นชานชาลา (platform) ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติที่สถานีบ้านไผ่ และสถานีขอนแก่น ของโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ที่เปิดให้ใช้บริการแล้ว เมื่อขึ้นมาจะเจอชานชาลาที่มีหลังคาคลุมอยู่ ซึ่งมีความยาวหลังคาคลุมเพียงพอต่อการรองรับปริมาณผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารสามารถขึ้นขบวนรถไฟในช่วงหลังคาดังกล่าวได้ และเดินบนตู้ขบวนรถไฟได้ ไม่ต้องเดินตากฝนเดินบนชานชาลาไปยังหลังคาอื่นเพื่อขึ้นรถคำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อตทุกค่ายไม่ต้องสมัคร
ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งผู้รับจ้างได้ดำเนินการตามแบบก่อสร้างที่ประกวดราคาประกอบการตรวจรับงานของคณะกรรมการตรวจรับงาน กรณีที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบหลังคาให้สามารถกันฝนสาดได้ หรือเพิ่มความยาวของหลังคาให้ครอบคลุมยาวต่อเนื่องทั้งหลังคา 3 ช่วง ทางผู้ว่าจ้าง (รฟท.) ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (VO) และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามมา อีกทั้งปริมาณผู้โดยสารที่สถานีมวกเหล็กในปัจจุบัน และที่คาดการณ์ที่จะมาใช้สถานีหมวกเหล็กใหม่ ยังน้อยกว่าสถานีขอนแก่น และสถานีบ้านไผ่มาก ดังนั้นหากทำเชื่อม 3 หลังคาที่สถานีมวกเหล็ก อาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
อย่างไรก็ตามในอนาคต ฝ่ายการช่างโยธา รฟท. มีแผนจะติดแผง (โฆษณา) ระหว่างเสาหลังคาเว้นช่องให้ไปหลบฝนข้างที่ฝนไม่สาดได้ ส่วนข้อเสนอที่หลายคนแนะนำให้ติดกันสาดเพิ่มที่หลังคานั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะจะยื่นเข้าไปในเขตโครงสร้าง (Structural Gauge) และอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยได้ สำหรับรถไฟทางคู่ระยะ (เฟส) ที่ 1 ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้ ประกอบด้วย 1.รถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 2.รถไฟทางคู่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 2.15 หมื่นล้านบาทคำพูดจาก รวมสล็อตทดลองเล่น
และ 3. รถไฟทางคู่สายใต้ 3 เส้นทาง วงเงินรวม 3.39 หมื่นล้านบาท ได้แก่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. วงเงิน 1.57 หมื่นล้านบาท, ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5.8 พันล้านบาท และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.24 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ตามแผนงานทั้ง 3 เส้นทาง จะก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 65 จากนั้นจะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณประมาณ 1 ปี และสามารถทยอยเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 66 หรือต้นปี 67.